วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักในการออกแบบสปา

หลักในการออกแบบสปา (Spa Design)
จากการออกแบบสปาในตลาดระดับ 4 – 5 ดาวนั้น บริษัทนีโอ เฮ้ลตี้ โฮม จำกัด มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาโครงการต่างๆ จากแนวความคิดและการออกแบบ ตลอดไปจนถึงการตกแต่ง และติดตั้ง เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น นอกเหนือไปกว่าความหลงใหลในการออกแบบสปาแล้ว บริษัทของเรายังประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยการที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการออกแบบ ตกแต่งสปา การดำเนินธุรกิจสปา รวมไปถึงการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจด้วย

บริษัทนีโอเฮ้ลตี้โฮมจำกัดบริการให้คำปรึกษาทางด้านการออกแบบและตกแต่งสปา

ส่วนประกอบในส่วนของธุรกิจสปา
- เคาน์เตอร์หน้าร้าน รวมถึง พื้นที่รับรองแขก
- ตู้เก็บของ, เสื้อผ้าของลูกค้าทั้ง ชายและหญิง
- ห้อง Treatment แบบแห้ง
- ห้อง Treatment แบบเปียก
- ห้องนวด
- ห้องอาบน้ำและอ่างอาบน้ำแบบ Treatment
- ห้องนั่งรอ, พักผ่อน

รวมถึง อาจจะมี:
- ห้องพักผ่อนส่วนตัว หรือ พื้นที่สำหรับทำสมาธิ
- ห้องออกกำลังกาย
- ห้องเรียนการเคลื่อนไหว หรือ เต้น
- สระว่ายน้ำ
- ห้องสำนักงาน
- ห้องพักของพนักงาน
- ห้องซักรีด
- ห้องเก็บของ
- ร้านกาแฟหรือมุมเครื่องดื่ม
- ร้านทำผม
- ฯลฯ

ข้อมูลโดยรวมของการออกแบบสปา

- ต้องมีการป้ายบอกทางที่เห็นได้ชัด สำหรับการระบายการแออัดระหว่างทางเดิน
- ในทุกๆ พื้นที่ทำ Treatment ควรจะติดตั้งแผ่นกันเสียง

Materials
- ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ไม่ควรใช้วัสดุที่เกิดการผุกร่อนได้ ควรจะใช้วัสดุที่ทนทานต่อความชื้น

Locker / Changing / Vanity Area
- ต้องมีการจัดเตรียมตู้เก็บของสำหรับลูกค้าไว้ทั้งสองด้านทางเดิน
- จัดเตรียมเครื่องจำหน่าย สบู่ – ยาสระผม ไว้ในห้องอาบน้ำ
- จัดเตรียมไฟสำหรับแต่งหน้ารอบๆ กระจกไว้ในห้องน้ำหญิง
- จัดเตรียมกระจกที่มีเลนส์ขยาย ไว้สำหรับโกนหนวด ในห้องน้ำชาย
- จัดเตรียมเครื่องเป่าผมไว้ในห้องน้ำทั้งชายและหญิง
- พื้นในบริเวณล๊อคเกอร์และห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ควรจะปูด้วยพรม และในส่วนอื่นๆ ปูด้วยกระเบื้อง

Locker Room Wet Area
- ติดตั้งที่แขวนเสื้อผ้าตลอดทั้งพื้นที่
- จัดเตรียมที่นั่งที่ทนต่อน้ำไว้ในพื้นที่เปียก
- ส่วนของพื้น ควรจะปูด้วยวัสดุที่ไม่ลื่นและสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
- จัดเตรียมส่วนบริการน้ำดื่มพร้อมด้วยอ่างล้างมือ, เคาร์เตอร์, ตู้เก็บของ, ตู้เย็นขนาดเล็ก, เครื่องทำน้ำแข็ง
- จัดเตรียมตู้สำหรับเก็บผ้าสะอาด

การออกแบบส่วนเสริมสวยในสปา

- ธุรกิจความสวยความงาม อย่างเช่น ทำเล็บ, ทำผม, แต่งหน้า สามารถนำมารวมกับสปาได้ โดยอาจจะแยกส่วนเสริมสวยออกไป ในส่วนของพื้นในห้องเสริมสวยควรเป็นวัสดุที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย อย่างเช่น พื้นกระเบื้อง เป็นต้น
- อาจจะเพิ่มเคาร์เตอร์อีกหนึ่งตัวไว้ในร้านเสริมสวยซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็น จุดชำระเงินย่อยๆได้ และทางที่ดีนั้น ควรให้ทางเข้าของร้านเสริมสวย อยู่ใกล้กับส่วนของตู้เก็บของของผู้หญิง เพื่อให้ลูกค้าสามารถเดินตรงเข้าร้านได้อย่างสะดวก

การออกแบบสำหรับห้องทำ Treatment หน้า

Design Considerations
- ในส่วนสำหรับเก็บผ้าที่ใช้แล้ว ควรจะเป็นรถเข็น วางไว้นอกห้องทำ Treatment
- ควรจะมีแผ่นกันเสียงกั้นไว้ระหว่างห้องและทางเดินอีกด้วย

Space Requirements
- ขนาด 80-100 sq. ft. 8 x 10 หรือ 10 x 10 ฟุต ควรมีพื้นที่ว่างพอสำหรับเปิด-ปิดประตูอย่างสะดวกด้วย

Location & Access
- ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ทำบำบัดแบบแห้ง หรือ ในส่วนเสริมสวย ในส่วนที่ให้ลูกค้านั่งรอ ควรอยู่ใกล้การห้องที่ทำ Treatment จะสามารถช่วยลดการแออัดของผู้คนได้
- อ่างล้างหน้า-มือ ควรติดตั้งอยู่หลังส่วนห้องรับรองแขก (ควรจะมีทั้งน้ำร้อน-เย็น)

Flooring
- ในส่วนของพื้น จะต้องไม่มีรู ที่น้ำหรือเศษฝุ่นตกลงไปได้ พื้นผิวของพื้นจะต้องเรียบ และสามารถทำความสะอาดได้

Walls, Ceilings, and Doors
- ผนังและเพดานควรติดวอลล์เปเปอร์หรือทาสี
- ประตูต้องมีความแข็งแรง และมีเลขหรือตัวอักษรที่บ่งบอกว่าเป็นห้องไหน และควรจะมีการใช้ ป้าย “in use” อีกด้วย

Lighting
- การติดตั้งไฟ ควรจะเป็นไฟแบบไม่ส่องตรงลงมา อาจจะใช้หลักในการสะท้อน และใช้เป็นแบบที่สามารถเลือกความสว่างได้
(TIP: จัดไฟแยกสำหรับห้อง waxing ซึ่งจะเป็นไฟที่ส่องตรง และสว่างกว่าห้องอื่นๆ)

Sound system
- ใช้ระบบเดียวกับห้องนวด คือการติดตั้งลำโพงไว้กึ่งกลางของห้อง (ในแต่ละห้องอาจจะต้องการส่วนควบคุมเสียงแยก)

Storage
- ต้องมีตู้เก็บของสำหรับสินค้าของผู้เชี่ยวชาญพร้อมล๊อค และลิ้นชัก สำหรับเก็บอุปกรณ์ชิ้นเล็ก

การออกแบบสำหรับห้องนวด

Design Considerations
- ในห้องนวด ควรจะมีอ่างล้างหน้า-มือ เล็กๆ และตู้เก็บผ้าต่างๆ
- ห้องนวดจะต้องไม่มีเสียงข้างนอกรบกวนได้
- สำหรับลูกบิดประตู จะต้องจับ-เปิดง่ายเพราะมือของผู้ให้บริการมักจะมีน้ำมัน อาจจะทำให้เกิดการลื่นได้ง่าย

Space Requirements
- ปกติจะมีขนาด 120-140 sq. ft. ผู้ให้บริการนวด ต้องการพื้นที่ว่างอย่างน้อย 3 ฟุต รอบๆ เตียงนวด

Location & Access
- ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ทำบำบัดแบบแห้ง และควรจะมีที่สำหรับทิ้งผ้าที่ใช้แล้วด้วย

Flooring
- ในส่วนของพื้นจะต้องมีผิวเรียบและให้ความรู้สึกผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการใช้หินอ่อนหรือแกรนิต

Walls, Ceilings, and Doors
- ผนังและเพดานอาจจะติดวอลล์เปเปอร์หรือทาสี ที่สามารถจะทำความสะอาดได้
- ประตูต้องมีความแข็งแรง และมีเลขหรือตัวอักษรที่บ่งบอกว่าเป็นห้องไหน และควรจะมีการใช้ ป้าย “in use” อีกด้วย

Lighting
- การติดตั้งไฟ ควรจะเป็นไฟแบบไม่ส่องตรงลงมา อาจจะใช้หลักในการสะท้อน และใช้เป็นแบบที่สามารถเลือกความสว่างได้
- หน้าต่างอาจจะใช้ม่านแบบ roman blinds

Sound system
- ใช้ระบบเดียวกับห้องนวด คือการติดตั้งลำโพงไว้กึ่งกลางของห้อง (ในแต่ละห้องอาจจะต้องการส่วนควบคุมเสียงแยก)

Storage
- ถ้าห้องมีพื้นที่พอสมควร อาจจะมีโต๊ะและตู้ในลักษณะ built-in สำหรับเก็บผ้าต่างๆ น้ำมันสำหรับนวด ฯลฯ
- ถ้าห้องนวดมีขนาดเล็กเกินไปที่จะจัดวางชั้นเก็บของได้ เราอาจจะติดตั้งตู้เก็บของไว้ด้านนอก


ที่มา : www.neohealthyhome.com
เครดิตรูปภาพ : Momoy.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น